คอมพิวเตอร์เบื้องต้น บทที่ 2


อุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้
      
   เพื่อให้นักศึกษารู้จัก และเข้าใจสภาพการทำงานของ
    1. เครื่องพิมพ์
    2. สแกนเนอร์
    3. โมเด็ม และการ์ดเสียง
1. เครื่องพิมพ์ (Printer)
  • เครื่องพิมพ์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พรินเตอร์ (Printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) โดยพิมพ์ข้อความออกมาทางกระดาษ แผ่นใส หรือโปสเตอร์ สามารถพิมพ์ได้ทั้งขาวดำและสีงานที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท เช่น รายงานจดหมาย การทำอาร์ตเวิร์ก ใบเสร็จ ฯลฯ การที่เราจะใช้เครื่องพิมพ์นั้น สิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้ มีดังนี้
    • 1.1 ความเร็วในการพิมพ์ (Speed) การดูว่าเครื่องพิมพ์นั้นๆ พิมพ์ได้เร็วหรือช้า ดูจากอัตราความเร็วในการพิมพ์ จำนวนหน้าต่อนาที ที่เรียกว่า ppm (page per minute) หรือจำนวนตัวอักษรในหนึ่งวินาที ที่เรียกว่า cps (characters per second)เช่น เครื่องพิมพ์ EPson Stylus Color 850 10.0 ppm for black หมายความว่า ความเร็วในการพิมพ์ขาวดำได้สูงสุด 10 หน้าต่อนาที
    • 1.2 ความละเอียดในการพิมพ์ (Resolution) เป็นการบอกคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่าสามารถพิมพ์งานได้ละเอียดมากหรือน้อยโดยจะวัดเป็นจำนวนจุดที่พิมพ์ในหนึ่งนิ้วที่เรียกว่า dpi (dots per inches)เพราะตัวหนังสอหรือภาพที่พิมพ์อกมานั้นเกิดมาจากจุดเล็กๆ นับพันนับหมื่นจุด มาประกอบกันขึ้นเป็นตัวอักษรหรือภาพ ดังนั้น หากจำนวน dpi มากแสดงว่าเครื่องพิมพ์นั้นพิมพ์งานได้ละเอียดมาก เช่น เครื่อง Canon BJC – 6000 Resolution 1440 x dpi black แสดงว่า เครื่องพิมพ์รุ่นนี้พิมพ์งานขาวดำได้ละเอียด 1440 x 720 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น
  • เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
    • เครื่องพิมพ์แบบกระแทก (Dot – Matrix Printer)
      • ใช้ระบบหัวเข็มกระแทกบนผ้าหมึกให้มีรอยหมึกบนกระดาษ โดยที่หัวพิมพ์จะมีชุดเข็มเรียงกันเป็นชุด เพื่อกระแทกผ้าหมึกให้หมึกติดลงบนกระดาษทีละจุดเรียงกันเป็นตัวอักษร ดังนั้น เวลาพิมพ์จะมีเสียงกระแทกหัวเข็มดังพอสมควร งานที่ได้มีคุณภาพปานกลาง แต่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะราคาไม่แพง
      • จุดเด่นของเครื่องพิมพ์ชนิดหัวเข็มอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถพิมพ์กระดาษซ้อนกันหลายๆ แผ่นที่มีหมึกก็อปปี้ได้ เหมาะที่จะใช้ตามห้างร้าน หรือบริษัทที่พิมพ์ใบเสร็จหรือใบบิลแก่ลูกค้า
      • ความเร็วในการพิมพ์ โดยทั่วไปพิมพ์ได้ 25 ถึง 450cps (character per second) หรือตัวอักษรต่อวินาที ส่วนความละเอียดในการพิมพ์ขึ้นอยู่กับชุดหัวพิมพ์ ถ้าหัวพิมพ์ 9 เข็ม งานจะออกมาค่อนข้างหยาบ แต่ถ้ามีหัวพิมพ์ถึง 24 เข็ม งานจะออกมาละเอียดกว่าหมึกที่ใช้พิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์แบบจุดจะเป็นผ้าหมึก โดยผ้าหมึกในตลับจะถูกเลื่อนไปเรื่อยๆ จนหมดม้วน จึงเปลี่ยนใหม่
      • กระดาษที่ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบนี้ใช้ได้ทั้งกระดาษที่สอดทีละแผ่น และกระดาษต่อเนื่อง ที่ยาวติดต่อกัน โดยมีความกว้างขนาด A4 หรือใหญ่กว่าก็ได้
    • เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Ink Jet Printer)
      • เป็นเครื่องที่ใช้วิธีการฉีดพ่นหมึกเข้าไปเป็นจุดๆ บนกระดาษ สามารถพิมพ์สีหรือขาวดำได้ คุณภาพของงานพิมพ์สวยงามกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุด นิยมใช้ในงานตามโรงพิมพ์ทั่วไป
      • ความเร็วในการพิมพ์ ถ้าเป็นพิมพ์สีดำจะมีความเร็วปานกลางคือ ตั้งแต่ 1–10 ppm (page per minute) แต่ถ้าเป็นพิมพ์สี ความเร็วจะลดลงอยู่ที่ 1–6 ppm แล้วแต่ประสิทธิภาพของแต่ละรุ่น
      • ความละเอียดของงานที่ได้ ปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกได้รับพัฒนาการความละเอียดมากขึ้น บางรุ่นสามารถทำได้มากถึง 1440x720 dpi แต่ส่วนใหญ่จะมีความละเอียดอยู่ที่ 720 x 360 dpi
      • หมึกพิมพ์ที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเก็บในตลับหมึก เมื่อใช้หมดแล้วจะเปลี่ยนตลับใหม่ ข้อควรระวังของเครื่องพิมพ์แบบนี้ก็คือ หมึกจะแห้งช้า ทำให้เลอะกระดาษ จึงควรเลือกใช้หมึกประเภทแห้งเร็ว
      • กระดาษที่ใช้พิมพ์ทั่วไป จะใช้ขนาด A4 หรือ8.5x11 นิ้ว บางรุ่นอาจใช้กระดาษใหญ่กว่านี้ได้ สีที่สามารถจะเป็นแม่สีหลัก คือ ฟ้า แดง เหลือง และดำ
    • เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

      • เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในสำนักงานทั่วไป อย่างไรก็ตามเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ยังมีราคาสูงกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดและแบบฉีดหมึก จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ส่วนตัวเพราะไม่คุ้มค่า
      • ความเร็วในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์สามารถพิมพ์ได้เร็วตั้งแต่ 4 ถึง 20 หน้าต่อนาที (ppm) ขึ้นไป ส่วนความละเอียดมีตั้งแต่ 300-1200 dpi จึงทำให้ผลงานพิมพ์คมชัดมากเหมาะสำหรับนำมาใช้งานกราฟิก ออกแบบสถาปัตยกรรม และทำสิ่งพิมพ์ตามโรงพิมพ์
      • หมึกพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเก็บในตลับที่เรียกว่า “โทนเนอร์” ภายในเป็นผงหมึกเช่นเดียวกับหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เมื่อหมึกหมด ถ้าไม่เปลี่ยนตลับใหม่สามารถเติมหมึกใหม่ได้ แต่คุณภาพอาจจะไม่ดีเท่าของใหม่
      • กระดาษที่ใช้โดยปกติจะใช้ขนาด 8.5x11 นิ้ว (A4) แต่ก็สามารถใช้กระดาษขนาดใหญ่หรือเล็กกว่านี้ได้ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ส่วนใหญ่นิยมพิมพ์ขาว–ดำ แต่บางรุ่นก็สามารถพิมพ์สีได้ซึ่งก็จะมีราคาสูงกว่าเครื่องพิมพ์ขาว–ดำทั่วไปมาก
2. สแกนเนอร์ (Scanner)
  • สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเข้าเก็บไว้ในเครื่อง เพื่อนำภาพมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์อื่นๆได้เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเข้าเก็บไว้ในเครื่อง เพื่อนำภาพมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์อื่นๆได้ประเภทของสแกนเนอร์ สแกนเนอร์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
    • สแกนเนอร์มือถือ (Hand-Held Scanner)
      • มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก เก็บภาพขนาดเล็กๆซึ่งไม่ต้องการความละเอียดมากนักได้ เช่น โลโก้ ลายเซ็น เป็นต้น
    • สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Feed Scanner)
      • เป็นสแกนเนอร์ที่ใหญ่กว่าสแกนเนอร์มือถือ ใช้หลักการดึงกระดาษขึ้นมาสแกนทีละแผ่น แต่มีข้อจำกัดคือ ถ้าต้องการแสดงภาพจากหนังสือที่เป็นรูปเล่มต้องฉีกกระดาษออกมาทีละแผ่นทำให้ไม่สะดวกในการสแกน คุณภาพที่ได้จากสแกนเนอร์ประเภทนี้อยู่ในระดับปานกลาง
    • สแกนเนอร์แท่นเรียบ ( Flatbed Scanner)

      • เป็นสแกนเนอร์ที่มีกระจกใสไว้สำหรับวางภาพที่จะสแกน เหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร คุณภาพของงานสแกนประเภทนี้จะดีกว่าสแกนเนอร์แบบมือถือ หรือสแกนเนอร์แบบดึงกระดาษ แต่ราคาสูงกว่าเช่นกัน
3. โมเด็ม (Modem)
  • โมเด็ม (Modulator and Demodulator) เป็นอุปกรณ์รอบข้างสำหรับต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างกันมากๆ โดยอาศัยเครือข่ายของโทรศัพท์เข้ามาช่วยในการสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล
  • ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกหรือรับเข้ามาจำนวนกี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kbps จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
  • โมเด็มที่ใช้งานตามบ้านในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการติดตั้งใช้งาน และตามลักษณะของสัญญาณ ดังนี้คือ
  • โมเด็มตามลักษณะการติดตั้งใช้งาน มี 2 ประเภท คือ
    • โมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem)

    • โมเด็มที่ติดตั้งภายนอก (External Modem)
  • โมเด็มตามลักษณะสัญญาณ มี 2 ประเภท คือ
    • โมเด็มแบบสัญญาณเสียง (Voice Modem) เป็นโมเด็มรูปแบบเดิมที่ใช้งานโดยทั่วไป โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัล (Digital) ที่ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แปลงให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) เพื่อส่งไปตามสายโทรศัพท์ และเมื่อถึงปลายทางโมเด็มที่ปลายทาง ก็จะแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล โมเด็มประเภทนี้ มีความเร็วสูงสุดในการส่งสัญญาณอยู่ที่ 56 Kbps
    • โมเด็มแบบสัญญาณดิจิตอล หรือโมเด็มเอดีเอสแอล (ADSL Modem, ADSL = Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นโมเด็มที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ใช้กับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอลความเร็วสูง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โมเด็มประเภทนี้จะส่งสัญญาณดิจิทัลไปตามสายโทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องแปลงเป็นสัญญาณอนาล็อกก่อน ความเร็วในการรับสัญญาณ (Download)กับความเร็วในการส่งสัญญาณ (Upload) ของโมเด็มประเภทนี้จะไม่เท่ากัน โดยความเร็วในการรับสัญญาณ จะมากกว่าความเร็วในการส่งสัญญาณ โดยความเร็วในการรับสัญญาณอยู่ที่ 128 kbps ถึง 10 Mbps ซึ่งเร็วกว่าโมเด็มแบบเดิม 2 - 8 เท่า
4. การ์ดเสียง (Sound Card)
             ปัจจุบันการ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาไปมาก ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงเสียงได้เหมือนเครื่องเสียง การ์ดเสียงมีชื่อเรียกหลายชื่อ บางทีเรียก ซาวด์การ์ด (Sound Card) ซาวด์บอร์ด (Sound Board) หรือออร์ดิโอซาวด์ (Audio Sound)อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ์ดเสียง คือ ลำโพงหรือหูฟัง โดยปกติคอมพิวเตอร์จะมีลำโพงเล็กๆ ติดไว้ข้างในมาพร้อมกับเครื่อง แต่ปัจจุบันจะมีลำโพงขนาดใหญ่ขึ้น บางรุ่นมีลำโพงข้างนอกแถมมาให้ด้วย นอกจากนั้น การ์ดเสียงสามารถจะติดตั้งไมโครโฟน สำหรับบันทึกเสียงเก็บเป็นไฟล์เอาไว้ได้ด้วย


การเลือกใช้การ์ดเสียง ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
  • คุณภาพของเสียง การจะดูว่าการ์ดเสียงให้คุณภาพของเสียงดีหรือไม่ แค่ไหนให้ดูจาก Sampling Size และ Sampling Rate การ์ดเสียงที่มีขนาดพอใช้งานได้ควรจะมี Sampling Size 16 บิต และ Sampling Rate 44.1 Khz
  • การพูด และฟังพร้อมกัน การ์ดเสียงที่ดีจะต้องสามารถสื่อสาร 2 ทางได้ คือ พูด และฟังโต้ตอบกันได้ ในการใช้งานระบบเครือข่าย